Happy Preschool Activities - Homeschooling - Bilingual Children - Parenting

Sunday 30 June 2019

การทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องเสียง กลองลูกโป่ง


อาทิตย์นี้เราทำการทดลองเรื่องเสียงกันค่ะ หลังจากที่เราทดลองแล้วว่าเสียงเกิดจากอะไร เราเลยมาลองทำกลองกันจากลูกโป่งค่ะ มาดูกันว่าทำง่าย ๆ ทำกันอย่างไร 


อุปกรณ์

แก้วพลาสติก
ลูกโป่ง
ตะเกียบ
กรรกรรและเทป



วิธีทำ

  1. ตัดตัวลูกโป่งออก
  2. ดึงลูกโป่งให้ครอบตัวแก้ว
  3. เพื่อความปลอดภัย ติดเทปยึดลูกโป่งกับแก้ว
  4. ใช้ตะเกียบเป็นไม้กลอง
  5. ทดสอบลองเสียง
เราเรียนอะไร

1. เมื่อเราตีกลอง ลูกโป่งที่อยู่บนกลองสั่น ทำให้อากาศสั่น ทำให้เราได้ยินเสียง 
2. เราลองลูกโป่งขนาดต่าง ๆ ขึงบนแก้วให้มีความตึงต่างกัน ยิ่งตึงมาก เสียงยิ่งสูง
3. สำหรับการทดลองต่อไป ลองใช้อุปกรณ์อื่น ๆ แทน แก้ว เช่น กระป๋องขนาดต่าง ๆ แกนกระดาษชำระ  หรือ ใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไม้กล้อง เช่น ดินสอ ปากกา ดูว่า เสียงที่เกิดขึ้นนั้นเหมือนเดิมหรือไม่




Share:

Balloon drums. Science Sound Experiment


This week, we have been doing experiments with sound. We added this to our sound science series.  Balloon drums are super easy to make. We experiment with how tight the balloon is and what different sounds are made.


You will need

Cups
Balloons
Chopsticks
Scissors and Tapes



What we do

  1. Cut the neck of the balloon with scissors. 
  2. Stretch the balloon's body on a cup. 
  3. For safety, tape the side of the balloon to the cup to keep it on.
  4. We use chopsticks as drumsticks, but you can use whatever you can find, pencils, pens, etc.
What we learn

1. When we tap on the drums, the balloon on the drum vibrates. As the result, the air molecules vibrate against each other, sound waves are formed and the sound of the drums can be heard. 
2. We try different sizes of balloon or different tightness of the balloons on the cups. They make different sounds. The tighter the drum skin, the higher pitch it gets. 
3. For further experiment, instead of cups, we can try making drums with different containers (cans, coffee tins, etc). Or we can try using different drumsticks, to see if it make the same sound. 



Share:

Thursday 16 November 2017

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ลูกอมสายรุ้ง

วันก่อนมีปาร์ตี้ค่ะ ซื้อลูกอมเจลลี่ (Jelly Bean) มาเหลือเยอะแยะ เราเลยเอามาทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ นั่นก็คือ ลูกอมสายรุ้ง การทดลองนีี้เตรียมง่ายมาก ใช้เวลาไม่ถึงห้านาทีก็สนุกกันแล้ว สองสำเภาสนุกสนานกันมาก ช่วยกันดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะมีสายรุ้งจริงหรือเปล่า แล้วสีมาจากไกนกันนะ ไปดูการทดลองกันเลย 

สิ่งที่ต้องเตรียม

ลูกอมเจลลี่ (Jelly bean)
จานสีขาว
น้ำหนึ่งแก้ว


วิธีทดลอง

  1. เรียงลูกอมเจลลี่ไว้ที่ขอบจาน 
  2. เทน้ำลงไป
  3. รอสักพัก แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
  4. หลังจากที่สีมาเจอกันตรงกลางแล้ว เอาลูกอมเจลลี่ออก สังเกตว่าลูกอมเจลลี่ มีลักษณะเป็นอย่างไรหลังจากการทดลอง 

เด็ก ๆ เรียนรู้อะไรบ้าง

  1. ได้ฝึกทักษะขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสังเกต รวบรวมข้อมูลใหม่ หรือแก้ไขข้อมูลเก่า ขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นี้ได้แก้ การสังเกต การตั้งสมมติฐาน ทำการทดลอง แล้วสรุปผลการทดลอง ตอนแรกคุณแม่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าน้องภามวัยสี่ขวบจะทำได้ทั้งหมด แต่เธอก็ทำได้ค่ะ ตั้งแต่สังเกตการละลายของสี ตั้งสมมติฐานว่าสีไหนจะละลายก่อน ทำการทดลอง แล้วก็สรุปผลค่ะ
  2. การทดลองนี้มีคณิตศาสตร์อยู่ด้วยนะคะ นั้นก็คือ เส้น สี และแบบแผน ค่ะ เมื่อสีละลายมาจากลูกอม เดินทางมาเจอกัน ทำให้เกิดเส้น เกิดรูปร่าง กลายเป็นแบบแผนค่ะ ซึ่งแบบแผนนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ช่วยให้เราคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และช่วยแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ได้ค่ะ การฝึกให้เด็ก ๆ ลองหาแบบแผนก็เป็นการฝึกทั้งทางคณิตศาสร์และวิทยาศาสตร์ค่ะ
  3. ผู้ใหญ่อย่างเราสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้มากขึ้นจากการถามคำถามปลายเปิดค่ะ การถามคำถามปลายเปิดช่วยให้เด็ก ๆ ต้องคิดวิเคราะห์เพื่อที่จะให้ได้คำตอบมา ตัวอย่างคำถามปลายเปิดสำหรับการทดลองนี้เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าใส่น้ำลงไปในลูกอม สีอะไรจะละลายก่อน แล้วสีมาจากไหน เป็นต้น 
ว่าแล้วก็ไปดูสองสำเภาทำการทดลองกันดีกว่า

Share:

Jelly Beans Rainbow Science Experiment

We have some jelly beans left from a party, so we decided to use them to make rainbows. This is an easy science experiment that you can do with your children. It takes less than five minutes to set up and they have a lot of fun exploring what happens with the jelly beans.

You will need

A bag of jelly bean
A white plate
A cup of warm water


What you do

  1. Arrange Jelly beans on the edge of the plate.
  2. Pour in some warm water.
  3. Wait and observe what happens.
  4. After the colours meet in the center, take the jelly beans out and observe what has happened to the jelly beans. 


What They Learn

  1. Children learn how to use and practise skills in the scientific method which is a techniques for investigating events, acquiring new knowledge, or correcting previous knowledge. They make observations, ask questions, make hypotheses, make an experiment and draw a conclusion. We didn't expect Mr Four to do all those steps in the scientific method but he actually did. He observed when we put jelly beans in the water, made a hypotheses about which colour would appear first, did the experiment, gathered the data and drew conclusions.
  2. Children learn about math in the experiment. There are patterns, colours, and lines. They observed how the colour travels, makes the shapes and creates patterns. Patterns can be found everywhere, it can help predict and can be used to solve problems. When children practise how to look for patterns, they also practise both mathematical and scientific skills. 
  3. We can help children extend their learning by asking open-ended questions. This can encourage meaningful answers using their own knowledge and feelings. During the experiment, we asked Mr Four what would happen if we put water on to the jelly beans? What colour would appear first? Or where did the colour come from? 
Let's watch the video how they did the experiment!


Share:

Monday 30 October 2017

มาเล่นเกมกระดานกับเด็กเล็กกัน

เมื่อสองสามเดือนก่อน เราให้น้องภามวัยสี่ขวบลองเล่นเกมกระดานดู เริ่มจากเกมง่าย ๆ อย่างเกมบันไดงู แล้วเราก็เริ่มเล่นเกมที่ยากขึ้น เช่น เกมเศรษฐีสำหรับเด็ก เกมกระดานเป็นของเล่นที่มีประโยขน์และสร้างโอกาสการเรียนรู้มากมายให้กับเด็ก ๆ หลังจากที่น้องภามเล่นเกมมาได้สักระยะ จะเห็นได้ชัดเลยว่ามีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

การทำตามคำสั่ง เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะเล่นเกมโดยที่ต้องทำตามกติกา เด็ก ๆ ต้องรอให้ถึงตาตัสอง หยิบลูกเต๋ามาโยน หยิบการ์ด หรือเดินหมากรอบ ๆ กระดาน เป็นต้น มีกติกามากมายที่เด็ก ๆ ต้องทำตามในเกม เหมือนกับกติกาในสังคมที่เรื่องราว เกมกระดานเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับกฎกติกาเหล่านี้ และสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ในอนาคต


ทักษะทางคณิตศาสตร์ การนับแต้มบนลูกเต๋า นับว่าต้องเดินกี่ตา บวกเลข อ่านตัวเลขบนกระดาน เป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ จริงอยู่ที่ทุกเกมไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ แต่เกมกระดานส่วนมากก็ใช้ การเล่นเกมกระดาช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะเหล่านี้
ทักษะทางด้านภาษาและสังคม ตอนเราเล่นเกมด้วยกัน เราต้องพูดคุยสื่อสาร มีการรอ มีการผลัดกันเล่น และรู้สึกสนุกไปด้วยกัน การเล่นเกมกระดานเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะทางสังคมเหล่านี้ ในชีวิตจริงสังคมเรายุ่งเหยิงกว่าในเกมกระดานมาก เกมกระดานช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจความเป็นไปของโลกรอบ ๆ ตัวได้


ทักษะทางอารมณ์ ตอนน้องภามเล่นเกมบันไดงูแล้วตกตรงงูน้องภามจะเศร้าอย่างเห็นได้ชัด ตอนได้ขึ้นบันไดก็ดีใจมากอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกัน เกมกระดานเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การจัดการอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้ เด็กบางคนเล่นเกมเอาจริงเอาจังมาก จนบางครั้งการชนะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา (บางทีเราก็ให้เค้าชนะ) พอโตขึ้นหน่อยรู้จักจัดการอารมณ์เหล่านี้แล้ว เราเริ่มที่จะเล่นเกมแบบแฟร์ ๆ จะได้รู้จักการรู้แพ้รู้ชนะ

ใช้เวลาในครอบครัวด้วยกัน สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องการที่สุดคือการใช้เวลากับพ่อแม่ พวกเขาต้องการให้พ่อแม่มีความสุขกับพวกเขา เล่นกับพวกเขา ฟังพวกเขา การเล่นเกมกระดานเป็นทางอแกที่ดีที่สุด เราได้ใช้เวลาร่วมกัน เราคุยกัน เราหัวเราะด้วยกัน และเราสรุกด้วยกัน
การเลือกเกมกระดานให้เหมาะสมสำหรับเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก ยากเกินก็ไม่น่าเล่น ง่ายเกินก็น่าเบื่อ สำหรับเด็กเล็ก ๆ อย่างน้องภามวัยสี่ขวบ สมาธิยังสั้น เลือกเกมที่เล่นง่าย ๆ มีกฎกติกาไม่ซับซ้อน เลือกเกมที่เข้ากับความสนใจของเค้า เค้าจะเล่นได้เป็นชั่วโมงไม่เบื่อเลย
เกมกระดานเกมโปรดของคุณคือเกมอะไร ของสองสำเภาคือเกมเศรษฐีสำหรับเด็ก ไปดูเด็ก ๆ เล่นกัน


Share:

Saturday 28 October 2017

Board Game With Preschool Children

A few months ago, we introduced Mr Four to play board games. We started with easy game, like snakes and ladders, then we moved on to harder game like monopoly. Because board games are rich in learning opportunity, the result of playing board games together is incredible. Mr Four has developed many skills in the past few months. Here are some examples. 

Following instructions. Children learn how to play a board game by following the instruction. They have to wait to their turn, roll the dice, pick a card, move the bit around the board, etc. There are rules in the games that they need to follow, the same as in real life. Board games allow children to experience rules, learn rules and negotiate with others when rules need to be modified.


Math skills. Counting the number on the dice, counting when they move their bits, adding numbers, reading numbers on the board, etc. Not every board game requires math, but a vast number of them do. Playing games will give children practice, improving their math skills and probable setting them up for STEM careers down the road.

Social and language skills. When we play games together we have to communicate with others, waiting, taking turns, and enjoying interaction with others. Board games offer opportunities for them to learn these important social skills. In real life, we are living in  a complex society. Board games can help children understand more about the world around them in much more simple ways and  within boundaries. 


Emotional skills. Some children play games very seriously. When Mr Four's piece fall down the snake, he feels very sad. When his piece goes up the ladder, he is very happy. Board games give a lot of opportunities for children to learn how to cope with these up and down feelings. Very young children, like Mr Four, sometime feel it is very important for them to win (and sometime we let them). Later on we try to play with "fair play", children can develop sense of fairness and it is ok if they don't win all the time. 

Family bonding time. What children want most is to be with you and spending time together. They want you to take pleasure in them, play with them, and listen to them. Board game is a perfect solution for this. We spend time together, we talk, we laugh and most of all we have fun!
It's very important to choose the age appropriate board game for children. Very young children tend to have short attention span and limited motor skills. Choose a game with simple rules, easy to understand and play and meet with their interest can give them hours of fun family time. 

What is your favorite board game? Ours is Peppa Pig Monopoly Junior. Let's see how we play it on the video. 

Share:

Monday 16 October 2017

ทำขนมมูสลีบาร์ ของว่างแสนอร่อย

การให้เด็ก ๆ ช่วยงานในครัวเป็นเรื่องที่สนุก แถมเด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้อะไรมากมายแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย การทำอาหารเป็นทักษะสำคัญในชีวิตอย่างหนึ่ง เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จากการทำอาหาร และที่สำคัญ การทำอาหารเป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ รับประทานของที่มีประโยชน์ วันนี้ สองสำเภาจะมาทำขนมมูสลีบาร์ ของว่างแสนอร่อยและมีประโยชน์ด้วย สูตรต้นฉบับมาจากเวปไซต์  kidspot.com  สูตรนี้ทำง่ายมาก เด็ก ๆ ทำกันเองได้เลยโดยมีผู้ใหญ่ช่วยแค่เล็กน้อยเท่านั้น


ส่วนผสม

  1. มูสลี 3 ถ้วย แล้วแต่จะชอบเลยค่ะ  
  2. นมข้นหวาน 1 กระป๋อง (395 กรัม) 


วิธีทำ

  1. อุ่นเตาอบ 180°C. เตรียมถาดสำหรับอบขนม โดยการปูด้วยกระดาษไข
  2. เอาส่วนผสมทั้งหมดผสม คนให้เข้ากัน  
  3. เอาส่วนผสมที่ผสมเข้ากันแล้ว กดลงในถาดที่เดรียมไว้ 
  4. อบ 20 นาที หรือจนว่าขนมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล 
  5. นำขนมออกจากเตา รอให้เย็นประมาณ 10 นาที  
  6. ตัดออกเป็นชิ้น ๆ รอให้หายร้อนแล้วนำไปเก็บไว้ในกล่องไม่ให้อากาศเข้าได้หนึ่งสัปดาห์

เด็ก ๆ เรียนรู้อะไรบ้าง

จริง ๆ เด็ก ๆ เรียนรู้เยอะมากจากการทำอาหาร วันนี้จะขอยกตัวอย่างมาสัก สี่ข้อก่อนแล้วกันนะคะ
  1. การทำอาหารสอนให้เด็ก ๆ รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็น พื้นฐานของโภชนาการที่สำคัญ การทำอาหารเมนูใหม่ เด็ก ๆ จะได้สร้างความรู้สึกที่ดีที่มีต่ออาหารหลากหลายชนิด เป็นการสร้างนิสัยการกินอาหารที่มีประโยชน์
  2. การทำอาหารสอนให้เด็ก ๆ ได้ใช้ทักษะประสาทสัมผัสต่าง ๆ การนวดแป้งทำให้ได้สัมผัสความนุ่มของแป้ง ลองชิมอาหารที่ตนเองทำ ดมกลิ่นขนมที่เพิ่งออกจากเตาอบ หรือฟังเสียงน้ำเดือดบนเดา 
  3. การทำอาหารเป็นการสอนคณิตศาสตร์ ให้กับเด็ก ๆ สำหรับเด็กเล็ก ๆ เราจะนับเลขใส่แป้งกี่ถ้วย ใส่ไข่กี่ฟอง สำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อยเราสามารถใช้การทำอาหารสอนเรื่องการคูณ การหาร เช่น เราต้องใส่แป้งทีละครึ่งด้วยกี่ครั้งถึงจะได้แป้งหนึ่งด้วย เป็นต้น
  4. การทำอาหารเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเอาแป้งนิ่ม ๆ ใส่ในเตาอบ หรือ ถ้าเราผสมแป้งกับนมจะเกิดอะไรขึ้น การทำอาหารเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำการทดลองทางวิทยาศาสร์พื้นฐานได้เป็นอย่างดี  
มาดูสองสำเภาทำมูสลีบาร์กันดีกว่าค่ะ

Share: